การขอรับการตรวจเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี (hiv)

มีเพียงวิธีการเดียวที่จะทำให้ทราบว่าท่านติดเชื้อเอชไอวี (hiv) หรือไม่ โดยการขอรับการตรวจเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี (hiv)

scheduleOppdatert: 23.07.2021

createForfatter: Sekretariatet

labelEmner:

จากแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (แพทย์ประจำตัว) ของท่าน (fastlege) หรือท่านสามารถขอรับการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี (hiv) ได้จากองค์กรต่างๆ ที่ให้บริการตรวจหาเชื้อ (noen organisasjoner) หรือตามคลินิกเพื่อสุขภาพทางเพศ เช่น คลินิกโอลาเฟีย (Olafiaklinikken) คลินิกเพศและสังคม Sex og samfunn (สำหรับท่านที่มีอายุต่ำกว่า ๒๕ ปี) ทั้งนี้การเข้ารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี (hiv) เป็นบริการที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหากท่านเป็นบุคคลที่ตกอยู่ในสถานการณ์ซึ่งต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการติดหรือแพร่กระจายเชื้อ

การตรวจวินิจฉัยเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวี (hiv) ทำได้สองรูปแบบ คือ การตรวจเลือด (blodprøve) แบบธรรมดาซึ่งใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ในการรอฟังผล และการตรวจคัดกรองหาการติดเชื้ออย่างเร่งด่วน (hurtigtest) ซึ่งท่านสามารถทราบผลการตรวจได้ภายในเวลาหนึ่งนาที มีองค์กรหลายแห่งที่ให้บริการตรวจคัดกรองหาการติดเชื้ออย่างเร่งด่วน อาทิเช่น เฮสซะอุทวัลเก็ท (Helseutvalget) และ มินุสเทสเต่น (Minuttesten)

โดยปกติ หลังจากได้รับเชื้อประมาณ ๒-๖ สัปดาห์ หากผู้รับเชื้อเอชไอวี (hiv) เข้ารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยหาการติดเชื้อเอชไอวี (hiv) ก็จะทราบว่าตนติดเชื้อ แต่ก็มีผู้รับเชื้อบางรายที่อาจมีระยะฟักเชื้อนานกว่าปกติ ดังนั้นจึงแนะนำให้ทำการตรวจซ้ำเพื่อยืนยันผลอีกครั้งหลังจากการตรวจครั้งแรก ๑๒ สัปดาห์เมื่อผู้รับเชื้อทราบว่าตกอยู่ในสถานการณ์ซึ่งต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการติดเชื้อ

Les også

schedule13.01.2023

→ คุณคือผู้ที่เพิ่งย้ายมาอยู่ใหม่ในนอร์เวย์และต้องการยารักษาเอชไอวีหรือไม่?

ทุกคนที่อาศัยอยู่ในนอร์เวย์และติดเชื้อเอชไอวีมีสิทธิที่จะรักษาเอชไอวีได้ฟรี รับการรักษาฟรีได้จากแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านที่มีแผนกโรคติดเชื้อ

schedule06.01.2022

→ วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) เป็นวัคซีนที่ปลอดภัย

โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (Joint United Nations Programme on HIV/AIDS) หรือ UNAIDS ชี้แจงว่าวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) เป็นวัคซีนที่ปลอดภัยต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HiV) ซึ่งคำชี้แจงดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากแผนกโรคติดเชื้อในประเทศนอร์เวย์ และมีความปรารถนาที่จะเชิญชวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HiV) ทุกท่านให้เข้ารับการฉีดวัคซีน